โรคไข้กาฬหลังแอ่นคืออะไร
โรคไข้กาฬหลังแอ่นคือโรคติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงผู้ป่วยบางคนที่ติดเชื้อชนิดนี้จะมีอาการที่รุนแรง และเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า Neisseria meningitidis เชื้อตัวนี้แบ่งออกเป็น 13 กลุ่ม แต่กลุ่มที่ทำให้เกิดโรคได้บ่อยได้แก่ชนิด group B และ C สำหรับในประเทศไทย พบได้เฉลี่ย 20-50 รายต่อปี และจำนวนผู้ป่วยค่อนข้างคงที่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2554 ล่าสุด พบผู้ป่วยจำนวน 22 ราย เสียชีวิต 2 ราย เชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากชนิดย่อย B โดยพบผู้ป่วยกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ และเกิดประ ปรายตลอดปี ไม่มีการระบาดเฉพาะตามพื้นที่
ในคนปกติร้อยละ20 สามารถตรวจพบเชื้อนี้ในคอโดยที่ไม่มีอาการ แต่มีผู้ป่วยบางคนที่เชื้อนี้เข้ากระแสเลือด และทำให้เกิดโรค โดยมากจะเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และช่วงอายุ 15-24 ปี เป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงกับเสียชีวิต อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5-10 แม้ว่าจะให้การรักษาเต็มที่แล้วก็ตาม
การติดเชื้อมีได้ 3 ลักษณะคือ
    1. การติดเชื้อธรรมดา
    2. กรณีที่เชื้อแบ่งตัวอย่างช้าๆในกระแสเลือด เชื้อจะเดินทางเข้าไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ที่พบบ่อยคือ เยื่อหุ้มสมอง ที่พบได้เป็นส่วนน้อย คือ ข้อต่อต่างๆ และเยื่อหุ้มหัวใจ และทำให้เกิดรอยโรคที่บริเวณนั้นๆเช่น การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Meningitis อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 3
    3. กรณีที่เชื้อเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะเกิดอาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Meningococcemia) และเชื้ออาจเข้าไปอยู่ที่เยื่อหุ้มสมองด้วย ทำให้เกิดอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 50 กรณีที่เชื้อมีการแบ่งตัวในกระแสเลือดอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่รุนแรง (Fulminant meningococcemia)

นอกจากเยื่อหุ้มสมองแล้วเชื้อนี้ยังสามารถทำให้เกิดโรคที่ ข้อ ปอดบวม
การติดต่อไข้กาฬหลังแอ่น
การติดเชื้อจะเกิดเฉพาะจากคนสู่คน ไม่มีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคหรือเป็นแหล่งรังโรค การติดต่อเกิดโดยการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย หรือของผู้ที่เป็นพาหะ หรือการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งเหล่านี้แล้วนำมาสัมผัสกับเยื่อบุจมูก ตา หรือปากของเรา ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วย หรืออาศัยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่นที่เกิดภาวะติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จะมีโอกาสติดเชื้อจากผู้ป่วยมากกว่า 400 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไปๆที่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย

การติดต่อจะผ่านทาง

    เยื่อเมือกในปาก จมูก เช่นการจูบปาก การเป่าปากและจมูก หรือใบหน้าใกล้ชิดกันเป็นเวลานาน
    เสมหะหรือน้ำลายผู้ป่วย

เชื้อนี้จะติดต่อทางน้ำลาย หรือเสมหะ โดยการสูบบุหรี่ร่วมกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน จูบปากกัน หรือการผายปอดช่วยชีวิต
ระยะฝักตัวของโรค

   ระยะฝักตัว (ระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อโรคจนกระทั่งเกิดอาการของโรค) ประมาณ3-4 วันโดยเฉลี่ย 1-10 วัน

ระยะติดต่อ

    เชื้อนี้สามารถติดต่อไปสู่คนอื่นตราบที่ยังพบเชื้อนี้อยู่ แต่หลังจากให้ยา 24 ชั่วโมงแล้วจะไม่ติดต่อ

อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

ผื่นเป็นจุดแดงเหมือนไข้เลือดออก มักพบมากตามแขนขา ทดสอบเอาแก้วกดบนผื่น ผื่นจะไม่จางหาย
อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น
ผื่นเป็นจุดแดงเหมือนไข้เลือดออก มักพบมากตามแขนขา ทดสอบเอาแก้วกดบนผื่น ผื่นจะไม่จางหาย
ผื่นโรคไข้กาฬหลังแอ่นแดงเป็นปลื้น กดไม่จางผื่นจะมีขนาดใหญ่กว่าผื่นของไข้เลือดออก
ในรายที่รุนแรงผื่นจะรวมตัวกันเป็นปลื้นดังรูป รูปทั้งสองได้จากThe South Australian Department of Health
อาการที่พบในเด็ก

    ไข้สูง
    ไม่ดูดนม
    อาเจียน
    เด็กจะซึม ปลุกไม่ตื่น
    ผื่นตามตัวและแขนขา
    ผิวซีด เป็นรอยจ้ำๆ

อาการที่พบในเด็กวัยรุ่น

   ไข้สูง
    ปวดศรีษะ
    อาเจียน
    คอแข็ง
    ซึมลง
    ผื่นตามแขนขา
    ทนแสงจ้าๆไม่ได้

โดยสรุปอาการที่สำคัญประกอบด้วย ไข้สูง ปวดศีรษะ คอแข็ง ผื่นตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง ผื่นจะมีลักษณะจุดแดง หรือดำคล้ำ บางทีมีตุ่มน้ำซึ่งมีเชื้ออยู่ภายใน เนื่องจากการดำเนินโรคเร็วมากจะต้องรีบพาไปพบแพทย์หากมีอาการตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป
การตรวจร่างกาย
   ไข้สูงโดยเฉลี่ย 39.5 องศา
    ผื่นตามลำตัวแขน ขา
    ในรายที่มีอาการรุนแรงผื่นอาจจะรวมตัวเป็นปลื้น
    ความดำโลหิตต่ำในรายที่เป็นรุนแรง
    ตรวจพบคอแข็ง

การวินิจฉัย
   การตรวจเลือด CBC จะพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูง
    การตรวจน้ำไขสันหลังจะพบเซลล์ในน้ำไขสันหลังสูง
    การตรวจหาเชื้อจากเลือด เช่นการเพาะเชื้อจากเลือด การย้อมเชื้อจากเลือด

แนวทางการรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น
การให้ยาปฏิชีวนะ

ผู้ป่วยจะถูกรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และแยกห้องเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
      การรักษาหลักคือการให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยในเบื้องต้น
        หากยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่นอนจากทางห้องปฏิบัติการว่าเกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะให้ยาปฏิ ชีวนะชนิดที่ครอบคลุมการฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เนื่องจากการเป็นโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆบางโรค ผู้ป่วยจะมีไข้และผื่นที่เป็นจุดเลือดออกคล้ายกับผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่นได้ ยาที่ใช้ เช่น ยาในกลุ่ม Cephalosporin รุ่นที่ 3 หรือใช้ยา Meropenem เป็นต้น
    ในกรณีที่ทราบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าเกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะเลือก ใช้ยาปฏิชีวนะที่ตรงกับเชื้อ เช่น ยา Penicillin G หรือยา Chloramphenicol เป็นต้น

การรักษาประคับประคอง

    ได้แก่ การให้ยาลดไข้ การให้สารน้ำ
    ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจนเกิดภาวะช็อก ต้องให้สารน้ำปริมาณมาก
    ให้ยากระตุ้นหลอดเลือดและการบีบตัวของหัวใจหากผู้ป่วยมีเลือดออกที่ต่อมหมวกไต ซึ่งจะทราบได้จากการมีภาวะช็อกยาวนาน และแก้ไขด้วยวิธีต่างๆดังข้างต้นไม่ได้ผล รวมทั้งตรวจเลือดพบปริมาณฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตลดลง ซึ่งการรักษาก็จะต้องให้ฮอร์โมนดังกล่าว คือฮอร์โมน Glucocorticoid
    สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดไม่แข็งตัว เกิดเลือดออก ก็ต้องให้สารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือ
ภาวะแทรกซ้อน 

    ผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด มีอัตราตายประมาณ 2-10%
    ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงมีอัตราตายสูงถึง 70-80% แต่หากการรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อัตราตายจะอยู่ที่ประมาณ 40%
    ผู้ป่วยที่เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากรอดชีวิตอาจเกิดอัมพาตของเส้นประ สาทจากสมอง (Cranial nerve) หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีกของร่างกายได้
    อาจเกิดสมองเสื่อม ปัญญาอ่อน หรือหูหนวกได้
    ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง ตามปลายนิ้วมือ ปลายนิ้ว เท้าอาจเกิดการเน่าตายเนื่องจากภาวะช็อกทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่พอ หรือเกิดจากลิ่มเลือดไปอุดตัน

การดูแลตนเองและการป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น
วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

เรื่องเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อและเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่นมีใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 แต่เป็นวัคซีนที่สามารถป้องกันได้เพียงชนิดย่อยเดียว ต่อมาจึงได้คิดค้นวัคซีนที่ป้องกันได้ถึง 4 ชนิดย่อยใน 1 เข็มคือ ชนิดย่อย A, C, Y, และ W135 ยกเว้นแต่ชนิดย่อย B ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถคิดค้นวัคซีนที่ป้องกันได้ บุคคลที่แนะนำให้ฉีดวัคซีน ได้แก่

    ผู้ที่ถูกตัดม้าม หรือ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่องชนิดที่เรียกว่า Complement component deficiency เพราะคนเหล่านี้เมื่อติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นจะมีโอกาสเป็นแบบติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดชนิดที่รุนแรงได้มากกว่าคนปกติทั่ว ไป
    สำหรับกรณีอื่นๆได้แก่ ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น
    ผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา บริเวณที่มีการระบาดของเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นเป็นประ จำ ซึ่งคือประเทศในแถบที่เรียกว่า Sub-Saharan Africa ดังได้กล่าวแล้ว
    หรือเมื่อจะต้องเดิน ทางไปทำพิธีฮัจจ์ ที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
    สำหรับในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แนะนำให้ฉีดในวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 11-18 ปี และในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 19-21 ปีที่จะต้องเข้าเรียนในวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย โดยการฉีดวัคซีนกระตุ้นจะทำทุกๆ 5 ปี
    ส่วนบุคคลในวัยอื่นๆ ตั้งแต่อายุ 2 ปี ถึง 55 ปี สามารถที่จะฉีดวัค ซีนได้ถ้าต้องการ
    ส่วนการฉีดในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจะเกิดขึ้นเป็นระยะสั้นๆเท่านั้น จึงไม่แนะนำให้ฉีดถ้าไม่มีการระบาดของโรค
    สำหรับในประเทศไทยไม่ได้แนะนำให้บุคคลทั่วไปฉีดวัคซีน เนื่องจากพบผู้ป่วยเพียงประปราย และไม่ได้มีการระบาดเกิดขึ้นเป็นช่วงๆเหมือนในประเทศอื่นๆ ควรพบแพทย์เมื่อไหร่? เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เสมอ คือ เมื่อมีไข้ และมีผื่นที่เป็นจุดเลือดออกที่ผิวหนัง เมื่อมีคนในบ้าน ป่วยเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น หรือมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน มหาวิทยาลัย หอพัก ค่ายต่างๆ ชุมชนแออัด เป็นต้น

การป้องกัน

สำหรับบุคคลทั่วไปในสถานการณ์ปกติ การป้องกันการติดเชื้อและเป็นโรค อาศัยหลักทั่วๆไปในการป้องกันการติดเชื้อโรคที่มากับทางเดินหายใจ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่แออัด ผู้คนหนาแน่น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก หากจำเป็นต้องเข้าไป ควรสวมหน้ากากอนามัย ป้องกันตนเองจากการสัมผัสกับละอองน้ำมูก น้ำลาย จากผู้อื่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หรือปรุงอาหาร รักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกายสม่ำ เสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น

การให้ยาป้องกันการติดเชื้อควรจะให้กับคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากผู้ป่วยเท่านั้น

หากมีบุคคลได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียว กัน รวมทั้งผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น ผู้ที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรกินยาปฏิชีวนะสำหรับป้องกันการติดเชื้อ ไม่ควรซื้อยากินเอง หากในพื้นที่ไหนมีรายงานพบผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่นมากกว่า 3 คนขึ้นไปในช่วง เวลาไม่เกิน 3 เดือนและมีอัตราผู้ป่วยมากกว่า 10 คนต่อประชากร 100,000 คน จะถือว่าเกิดการระบาดของโรคขึ้น ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นควรได้รับวัคซีนหรือยาปฏิชีวนะสำหรับป้องกัน ตามคำแนะนำของแพทย์ ยาที่ใช้ในการป้องกันได้แก่

    Sulfonamides
    rifampin 2 วันในผู้ใหญ่ให้ Rifampicin ขนาด 600 มก. ทุก 12 ชั่วโมง รับประทานติดต่อกัน 2 วัน ในเด็กอายุ >1 เดือนให้ Rifampicin ขนาด 10 มก. ทุก 12 ชั่วโมง ติดต่อกัน 2 วัน
    minocycline,
    Ofloxacin, Ciprofloxacin, Azithromycin 1 ครั้ง
    ใช้การฉีดยา Ceftriaxone 1 ครั้ง

การให้ยาป้องกันการติดต่อควรจะให้ในกลุ่มบุคคลใด

   สมาชิกในครอบครัวของผู้ที่ติดเชื้อในช่วง 7 วันก่อนเกิดอาการของโรค เพราะอัตราการติดเชื้อของสมาชิกเพิ่มขึ้น มากกว่า100 เท่า
    day care
    nursing home
    เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ต้องสัมผัสกับเสมหะผู้ป่วย เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การดูดเสมหะ
    วัคซีนป้องกันโรค และยาปฏิชีวนะสำหรับผู้สัมผัสโรค อ่านวัคซีนป้องกันโรคที่นี่

ใครเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเหล่านี้จะมีโอกาศเสี่ยงต่อการเกิดโรคกาฬหลังแอ่น คือ

    ผู้ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ
    ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
    ผู้ที่สัมผัสกับโรค
    ผู้ที่ไปท่องเที่ยงแหล่งระบาด

พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือ การสูบบุหรี่มวนเดียวกัน การดื่มน้ำแก้วเเดียวกัน หรือการจูบปากกัน
1.เด็กอายุมากกว่า2ขวบในขณะที่มีการระบาดของเชื้อ เด็กอายุ3-18เดือนในช่วงระบาดอาจฉีด2เข็มห่างกัน3เดือน
2.ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงเช่นผู้ถูกตัดม้าม
3.เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการที่ต้องสัมผัสกับเชื้อ
4.บุคคลที่ๆจะไปถิ่นระบาด
หลังฉีดจะมีภูมิอยู่ไม่เกิน3ปีภูมิจะเริ่มขึ้น 7-10 วัน
 
ขนาดวัคซีนที่ให้

ให้ 0.5 ml SCที่ แขนหรือก้น ไม่ควรให้วัคซีนในคนท้อง

ใครควรได้วัคซีนป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น
ข้อมูลจาก SIAMHEALTH
ดูแลร่างกายและรักษาสุขภาพกันให้ดีด้วยนะครับ
ด้วยความปรารถนาดีจาก พัน.พ.กรม สน.พล.นย. แล้วพบกันใหม่นะครับ